ขอ "สมรสพระราชทาน"

หลังจากที่คู่บ่าวสาวได้พิจารณาแล้วว่า สามารถเข้าขอรับการสมรสพระราชทาน ได้  ก็ถึงขั้นตอนที่ต้องเตรียมเอกสารและเรียนรู้กฎเกณฑ์ต่างๆเพื่อขอสมรสพระราชทาน ซึ่งเมื่อมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชสำนักแล้ว ก็คงต้องมีขั้นตอนที่ค่อนข้างเคร่งครัดและซับซ้อนอยู่สักหน่อย แต่หากคุณปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้แล้ว รับรองว่าคุณจะผ่านงานนี้ไปได้อย่างราบรื่นค่ะ
การขอสมรสพระราชทาน ให้ถูกต้องตามลำดับขั้นตอน ควรรู้ หลักเกณฑ์การขอสมรสพระราชทาน ตามแบบราชสำนักดังนี้


1. เขียนคำร้อง แจ้งความประสงค์ไปยังสำนักพระราชวัง โดยนำเอกสารแบบฟอร์มการ ขอพระราชทานน้ำสังข์ จากกองงานฯ มากรอกรายละเอียด  จากนั้นเขียนประวัติของคู่บ่าวสาวและความสัมพันธ์กับเชื้อพระวงศ์ หรือถ้ามีคนในครอบครัวคนใดมีโอกาสได้ถวายงาน ก็ให้เขียนรายละเอียดลงไปด้วยจะเป็นการดี  ซึ่งเราสามารถระบุช่วงเวลาที่เราต้องการได้ เป็นต้นว่า ระหว่างปี 2552-2553  จากนั้นให้รอหมายแจ้งกลับจากทางสำนักพระราชวัง
2. ทางสำนักพระราชวังจะแจ้งหมายกำหนดการ วันเวลา และสถานที่ที่จะทำการเข้าเฝ้าฯ  ซึ่งการรอหมายเรียกกลับอาจจะใช้เวลาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ที่ยื่นเรื่องฯ ในช่วงเวลานั้น รวมถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อเชื้อพระวงศ์องค์นั้นๆ ด้วยเช่นกัน
3. แจ้งรายชื่อผู้ติดตามทั้งหมด (บิดา-มารดา และพยานของทั้งสองฝ่าย) ตามหนังสือระเบียบการแจ้งผู้ติดตาม รวมกันไม่เกิน 8 ท่าน (รวมคู่บ่าว-สาวแล้วเป็น 10 ท่าน)
4. ถ้าต้องการจดทะเบียนสมรสในวันนั้น ให้เตรียมเอกสารตามที่ระบุ เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน  และค่าธรรมเนียม 200 บาท ให้ทางสำนักพระราชวังก่อนวันเข้ารับพระราชทานน้ำสังข์ 
5. ทางสำนักพระราชวังจะกำหนดวันนัดซ้อม ก่อนวันเข้าเฝ้าฯ
6. นัดซ้อมอีกครั้งในวันจริงพร้อมกันทั้งหมด (คู่บ่าว-สาว และผู้ติดตาม หรือสักขีพยาน) ซึ่งทาง สำนักพระราชวังจะนัดให้ไปถึงก่อนฤกษ์ประมาณ 3 ชั่วโมง และจะมีเจ้าหน้าที่คอยกำกับบอกข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขอีกครั้ง  ไม่ต้องกังวลเรื่องรายละเอียดว่าเราต้องทำอะไรบ้าง และจะทำอย่างไรในตอนเข้าเฝ้าฯ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยกำกับให้เป็นช่วง
7. การแต่งกาย
ชาย: ถ้าเป็นข้าราชการให้แต่งเครื่องแบบเต็มยศ  ถ้าเป็นพลเรือนให้ใช้ชุดราชประแตนพร้อมติดเครื่องหมายเข้าเฝ้าที่คอเสื้อ
หญิง: ใส่ชุดไทยบรมพิมาน (ไม่กำหนดสีหรือชนิดของผ้า) ซึ่งชุดไทยบรมพิมานที่ถูกต้องนั้นจะไม่ผ่าหลังหรือผ่าหน้า  เพราะจะไม่สุภาพเวลาก้มกราบและหมอบคลาน ดังนั้นแนะนำให้ช่างเสื้อจับจีบหน้านาง ประมาณ 2 จีบ ซึ่งจะกว้างกำลังดีทำให้เราหมอบกราบได้สะดวก ในวันลองชุดควรลองหมอบกราบและ คลานเข่าด้วย  สำหรับเรื่องรองเท้า ไม่อนุญาตให้มีสายคาดหรือสายรัดข้อเท้า ต้องเป็นแบบสวมหุ้มส้นเท่านั้น 
เครื่องประดับควรใส่เพียงน้อยชิ้น ไม่ควรเป็นระย้าห้อยตุ้งติ้ง

หลักเกณฑ์การขอสมรสพระราชทาน

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับการแต่งงานของคู่รักหลายๆคู่ว่า ได้มีการขอเข้ารับพระราชทานน้ำสังข์กันมาบ้างแล้ว และเคยสงสัยบ้างมั้ยว่าการ ขอสมรสพระราชทาน นั้นมีระเบียบการอย่างไรบ้าง ใครสามารถขอเข้ารับสมรสพระราชทานได้บ้าง  ซึ่งการขอให้ทรงพระราชทานประกอบพิธีสมรสให้นั้น เรียกว่า การขอพระราชทานน้ำสังข์  โดยมี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
1. แบบเป็นทางการ
2. แบบส่วนพระองค์ ที่เรียกกันว่า น้ำสังข์ข้างที่
  

พระราชทานแก่ผู้ที่ทรงรู้จักคุ้นเคย
- ทรงรู้จักบิดามารดาของผู้ขอพระราชทาน 
- ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ขอพระราชทานให้คู่สมรสในกรณีที่เป็น ตำรวจ ทหาร หรือพลเรือนที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ข้อ 1 และ 2
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นกรณีพิเศษ
สร้อยหรือตุ้มหูอาจจะพันกันเองหรือพันเส้นผมได้ และจะทำให้แลดูไม่งามนัก  ส่วนสักขีพยานที่เป็นผู้หญิงให้ใช้ชุดไทยจิตรลดาในการเข้าเฝ้า
8. แบบผมของผู้หญิงควรเป็นทรงที่เรียบร้อยไม่รุงรังและไม่ฉีดสเปรย์ใส่ผมมาก เกินไปจนเหนียวเหนอะหนะเพราะอาจทำให้มีปัญหาในการทัดใบมะตูมได้
9. เตรียมพานดอกไม้ ธูปเทียน สำหรับวันที่เข้าเฝ้าฯ หรือในวันจริงให้พร้อม หากเกรงว่าจะไม่ถูกต้องตามประเพณีก็สามารถให้ทางพระราชวังเตรียมให้ได้ โดยให้ไปติดต่อแจ้งความจำนงและชำระเงินไว้ล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาเข้าเฝ้าฯ ทางเจ้าหน้าที่จะเป็นคนจัดการนำมาวางไว้ให้ที่โต๊ะ
10. เมื่อเสร็จพิธีในส่วนของเราแล้วก็สามารถกลับได้เลย ไม่ต้องรอให้ทำพิธีจนครบทุกคู่ (ปกติวันที่ทรงพระราชทานน้ำสังข์จะมีประมาณ 6-8 คู่ ทางสำนักพระราชวังจะเป็นคนกำหนดแจ้งลำดับก่อนหลังมาให้อีกครั้ง)

ข้อมูลจากหนังสือ "รวมเรื่องและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับ ราชสำนัก"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น